13 Mar

ความหมายของค่าต่างๆใน OTDR Report

เหตุการณ์ (event) บนสายใยแก้วนำแสงจะเกิดจากการสูญเสีย (Loss) หรือการสะท้อน (Reflection) มากกว่า การกระจาย (Scattering) ที่เกิดจากวัสดุของสายใยแก้วที่ผลิต หลักการนี้จะใช้กับการเชื่อมต่อทุกแบบ รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากการโค้งงอ (Bending) ,การแตก (Crack) หรือ การขาด (Break) ของสายใยแก้วนำแสงOTDR trace จะแสดงผลของการวัดเป็นกราฟฟิกบนจอภาพ โดยแกนในแนวตั้งจะเป็นแกนกำลัง (power axis) ส่วนแกนในแนวนอนเป็นแกนระยะทาง ในกราฟต่างๆเหล่านี้จะแสดงให้รู้จักกับ trace ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นในการทดสอบนะครับ1. Single Fibers

จะทำให้เกิด trace ดังรูป จะเห็นว่ามีการลดของ power lever (attenuation) ลงเรื่อย ๆ และที่จุดเริ่มต้นและจุดปลายของไฟเบอร์จะมีการการสะท้อนกลับ (reflection) สูง

2. Whole links
หมายถึง “การเชื่อมโยงทั้งหมด” สามารถจะมองให้เป็นแบบ whole link ได้ นอกจากจะมีการลดทอนแบบทั่วไปแล้ว (normal attenuation) จะเห็นว่ามี event ต่าง ๆ และ noise หลังจากจุดปลายของ link ด้วย

3. Beginning of a Fiber

ถ้าใช้ normal straight connector จุดเริ่มต้นของไฟเบอร์จะแสดงเป็นการสะท้อนกลับอย่างแรงที่ front connect

4. Fiber End

จุดสิ้นสุดไฟเบอร์ : โดยทั่วไปแล้วจะมองเห็นเป็นการสะท้อนอย่างแรง (strong reflection) ที่จุดปลายของสายใยแก้วนำแสงก่อนที่ trace จะลดต่ำลงถึงระดับของ noise ดังรูป

5. Break

กรณีสายใยแก้ว ถูกทำลายหรือถูกทำให้ขาด (interrupted or broken) จุดที่ขาด จะไม่มีอีเวนต์ของการสะท้อนกลับ นั่นคือ trace จะลดต่ำลงถึงระดับของ noise ดังรูป

6. Connector or Mechanical Splice (จุดที่มีคอนเน็กเตอร์หรือจุดที่มีการต่อประกบกัน)

การใช้ Connectors และการเชื่อมต่อแบบประกบกัน(mechanical splice) จะมีลักษณะที่คล้ายกัน ตรงจุดนี้จะมีการเกิด Loss และการสะท้อนกลับของแสงภายในลิงค์ด้วย

7. Fusion Splice (การเชื่อมประกบแบบหลอมละลาย)

การ เชื่อมประกบแบบหลอมละลายจะไม่ทำให้เกิด event ของการสะท้อนกลับ เพียงแต่จะเกิด Loss ที่สามารถตรวจจับได้เท่านั้น การเชื่อมต่อประกบแบบหลอมละลายในปัจจุบันนี้ดีมาก ซึ่งหลายๆครั้งการเชื่อมต่อแบบนี้แทบจะไม่เกิดอีเว้นท์ขึ้นเลย หรือหาได้ยากมาก

8. A Splice as A Gainer

ในกรณีที่เป็นการเชื่อมประกบไม่ดี (bad splice) นั้นอาจจะเห็นการสะท้อนกลับเล็กน้อย การเชื่อมประกบบางจุดจะปรากฎเป็นการเพิ่ม (gainers) เหมือนเป็นการเพิ่มขึ้นของ power lever ที่เป็นแบบนี้ก็เกิดจากค่าสัมประสิทธ์ backscatter (backscatter coefficients) ก่อนและหลังการเชื่อมประกบในไฟเบอร์มีค่าต่างกัน ดังรูป

ถ้าในกราฟแสดงเป็น gainer จากการวัดในทิศทางหนึ่ง แล้วเมื่อทำการวัดจาดจุดปลายของอีกด้านก็จะเห็นเป็น loss ที่จุดนี้ ความแตกต่างระหว่าง gainer และ loss (ค่า loss โดยเฉลี่ย) จะแสดงเป็นค่า loss จริงของจุดนี้ ตรงนี้นี้เองที่เป็นคำตอบว่าทำไมเราแนะนำให้คุณทำการวัดดูไฟเบอร์ทั้งสองทิศ ทางแล้วใช้ค่าเฉลี่ยของทั้งสองด้าน

9. Bend or Macrobending

การแยกความแตกต่างระหว่าง bend กับ splices แนะนำให้ดูบันทึกในการติดตั้งและบันทึกการบำรุงรักษา (installation and maintennance records) ในกรณีของ macrobending (คือ การโค้งงอมากๆ) ตำแหน่งของการ loss จะอยู่ที่ unknown location คือไม่รู้ตำแหน่งนั่นเอง ส่วนกรณีที่เป็น splices จะอยู่ที่ documented ซึ่งเป็นระยะที่รู้กันดีถ้าคุณวัดโดยใช้ค่า wavelength สูง ลักษณะของ macrobending จะแสดงเป็น higher loss ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ทำการวัดเป็นแบบ multi-wavelength ซึ่งจะทำให้คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง bendin และ splices ได้

10. Cracks

การ crack หรือการแตกร้าว คือ การที่สายใยแก้วนำแสงถูกทำลายบางส่วน (partially damaged fiber) เป็นเหตุให้เกิดการสะท้อนกลับและการสูญเสีย (reflection and loss) ดังรูป

11. Patch cords

ถูกใช้สำหรับเชื่อมต่อ OTDR กับไฟเบอร์ที่ต้องการวัด การสะท้อนกลับเริ่มต้น (initial reflection) จะไม่ครอบคลุมจุดเริ่มต้นของไฟเบอร์ ลักษณะแบบนี้จึงทำให้การตรวจสอบคอนเน็กเตอร์ตัวแรกสามารถทำได้ดี


Comments
* The email will not be published on the website.
I BUILT MY SITE FOR FREE USING